สัตว์มีพิษในทะเล
ข้อมูลที่นำเสนอนี้ไม่ใช้คำว่า "สัตว์ทะเลมีพิษ" เพราะฉลามหรือเม่นทะเลไม่มีพิษ แต่อาจมีอันตรายได้ เราจึงรวมเรื่องของสัตว์ทะเลที่มีอันตรายไว้ทั้งหมด ทั้งมีพิษและไม่มีพิษ แต่ทั้งนี้ไม่รวมสัตว์ทะเลที่กินแล้วมีพิษ เช่น แมงดา ปลาปักเป้า ฯลฯ แต่อยากแนะนำว่าอย่ากินอะไรแปลกๆ ไม่น่าไว้ใจ อนึ่ง สรรพชีวิตทั้งหลายในทะเล มิได้ต้องการจู่โจมทำร้ายมนุษย์ อันตรายที่เกิดขึ้นเกือบทั้งหมดเป็นเพราะเขาป้องกันตัว มีน้อยมากที่ทำร้ายเราเพราะต้องการอาหาร และในจำนวนนั้นทั้งหมดเป็นการเข้าใจผิด สิ่งมีชีวิตหลายแสนชนิดของท้องทะเล ไม่มีชนิดใดที่ล่ามนุษย์เป็นอาหารโดยตรง คนที่ทำร้ายสัตว์ทะเลก่อน เพราะกลัวเขาจะทำร้ายเรา คนพวกนี้มักได้รับอันตรายจากสัตว์ทะเล
สัตว์ทะเลมีพิษ
ปลา : ปลาหลายชนิดมีพิษอยู่ที่เงี่ยง พิษเหล่านี้ใช้เพื่อป้องกันตัวเท่านั้น เช่น ปลากระเบน ปลาหิน ปลาสิงโต ปลาดุกทะเล ปลาสลิดทะเล ฯลฯ โอกาสที่เราจะโดนพวกเขาทำร้ายมีน้อยมาก ทุกกรณีเกิดจากเราไปทำร้ายเขาก่อน ตัวอย่างต่อไปนี้คือเหตุการณ์ที่เคยเกิดมาแล้ว
- นักท่องเที่ยวไปเดินในน้ำตื้นแล้วเหยียบปลากระเบน
- นักท่องเที่ยวไปจับปลาดุกทะเลหรือสลิดทะเลที่ตายแล้ว แต่เงี่ยงยังมีพิษอยู่
- นักดำน้ำไปจับหรือโดนปลาหินหรือปลาสิงโตเพราะไม่ระวังตัว
- นักดำน้ำไปขี่หรือเกาะปลากระเบน บางตัวใหญ่มาก เงี่ยงอาจทะลุตัวเหมือนโดนแทงได้
อาการ - เมื่อโดนจะปวดแผลฉับพลัน อาจตกใจหรือเกิดตะคริวจนจมน้ำได้
รักษา - ดึงเงี่ยงที่อาจหักค้างอยู่ออกจากแผล ใช้ของร้อนประคบ เช่น น้ำอุ่น ที่เป่าผม หินเผาไฟดูอาการว่าถ้ารุนแรงให้นำผู้ป่วยส่งแพทย์ทันที
งูทะเล : ในทะเลมีงูประมาณ 50 ชนิด พบบ่อยที่สุดในแนวปะการังเมืองไทยคืองูทะเลปล้องดำมีพิษร้ายแรง แต่โดยธรรมชาติงูทะเลจะไม่ทำร้ายมนุษย์โดยเจตนา (ยกเว้นในช่วงผสมพันธุ์และเป็นเพียงบางครั้ง) ตามปรกติงูทะเลจะไม่สนใจเราเลย เขาจะว่ายน้ำหาอาหารโดยมุดหัวไปตามซอกแล้วใช้จมูกดมเพื่อกินไข่ปลาหรือกุ้ง บางครั้งเขาอาจเข้ามาใกล้เรามาก ไม่จำเป็นต้องตกใจจนว่ายหนีฉุกละหุกเมื่อเจองูทะเลให้ว่ายหนีออกมาช้าๆ หากโดนงูทะเลกัดพิษงูจะส่งผลต่อกล้ามเนื้อ (พิษงูทะเลเป็น Myotoxic มีผลต่อกล้ามเนื้อ) ปัสสาวะมักเปลี่ยนสี สามารถปฐมพยาบาลเหมือนโดนงูกัด แล้วหาแพทย์ทันที อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนไม่เคยได้ยินว่ามีนักท่องเที่ยวหรือนักดำน้ำโดนงูทะเลกัด ทั้งหมดที่ทราบคือชาวประมงที่าปลาในป่าชายเลน
เม่นดอกไม้ : เม่นดอกไม้และเม่นขนสั้นบางชนิด พบตามพื้นทรายนอกแนวปะการัง มีพิษร้ายแรง อย่าจับโดยเด็ดขาด แต่หากโดนให้ไปพบแพทย์โดยด่วน
ดาวหนาม : ดาวหนามเป็นสัตว์กินปะการัง พบได้ทั่วไป หนามตามตัวแข็งและแหลมมาก หากโดยเข้าไปจะรู้สึกเจ็บแปลบ แผลจะหายยากมาก บางครั้ง 6 เดือนแล้วยังไม่หาย (โดนมาแล้ว)
หมึกทะเล : หมึกทะเลเป็นสัตว์เป็นสัตว์กลุ่มหอย ทุกชนิดสามารถกัดเราด้วยฟันแหลมคล้ายปากนกแก้ว บางชนิดมีพิษ เช่น หมึกกระดอง แต่ส่วนใหญ่พิษมักไม่มีผลต่อมนุษย์ ยกเว้นหมึกสายวงฟ้า มีพิษร้ายแรงมากจนถึงตาย แต่เท่าที่ทราบ ไม่มีรายงานหมึกสายกลุ่มนี้ในเมืองไทย
หอยเต้าปูนะ : หนึ่งในสัตว์มีพิษร้ายแรงที่สุดในโลก (ใช้ยิงไดโนเสาร์ในเรื่อง The Lost World) ฟันหอยเปลี่ยนรูปเป็นฉมวก เมื่อหอยเจอเหยื่อหรือป้องกันตัว จะยื่นงวงออกมาก่อนยิงฉมวกใส่ หลายชนิดมีพิษถึงตาย เช่น หอยเต้าปูนลายแผนที่ การหลีกเลี่ยงทำได้ง่ายมาก คือไม่พยายามไปจับหอยเหล่านั้นหรือเก็บหอยมาไว้ในกระเป๋าเพื่อเอากลับบ้านเป็นของที่ระลึก
แมงกะพรุน : พิษเกิดจากเข็มพิษเรียกว่า Nematocyst (นีมาโตซิส) ความรุนแรงของพิษแตกต่างกันออกไปตามแต่ชนิดและขนาดตัว พิษเหล่านี้อยู่ที่หนวดและยังมีพิษอยู่แม้แมงกะพรุนตายแล้ว หนวดบางเส้นยาวแต่ใส ทำให้พวกเรามองไม่เห็น วิธีการว่ายหลบแมงกะพรุนจึงควรหลบทางหัว อย่างหลบทางหนวดโดยเด็ดขาด แมงกะพรุนบางชนิดมีพิษรุนแรงถึงตาย เช่น แตนทะเล แต่มีอยู่น้อยมากไม่ค่อยพบในน่านน้ำไทย
ปะการัง ดอกไม้ทะเล ไฮดรอยด์ : มีเข็มพิษที่หนวดเช่นเดียวกับแมงกะพรุน หากสัมผัสโดยผิวหนังจะมีอาการ เป็นผื่นแดง คันมาก บางชนิดมีพิษแรงอาจถึงขั้นแผลไหม้ สามารถปฐมพยาบาลไดโดย อย่าใช้น้ำราดแผลเพราะจะทำให้เข็มพิษยิงต่อไป ให้รีบหยิบหนวดที่อาจติดอยู่ทิ้งไป (คนหยิบต้องใส่ถึงมือด้วยนะครับ) ใช้น้ำส้มสายชูจำนวนมากราดแผล ฤทธิ์ของน้ำสมสายชูจะหยุดการทำงานของเข็มพิษ หากเป็นมากให้ส่งแพทย์โดยด่วน
ฉลาม : สัตว์ชอบงับมนุษย์ตามสายตาของคนทั่วไป แต่เป็นปลาที่สง่างามและยิ่งใหญ่ที่สุดของท้องทะเลในสายตาบางคน สำหรับเรา หลายสิบครั้งที่เจอ เราไม่เคยว่ายหนีฉลาม เพราะทราบดีว่าเขาไม่ใช่สัตว์ดุร้ายฉลามบางชนิดอาจเป็นอันตราย เช่น ฉลามเสือ แต่หลายชนิดไม่ได้เป็นเช่นนั้น เช่น ฉลามครีบเงินฉลามหัวค้อน มีรายงานว่าจู่โจมมนุษย์น้อยยิ่งกว่า ส่วนใหญ่เป็นคำร่ำลือในท้ายที่ผิดมากกว่า ไม่มีรายงานว่าฉลามจู่โจมมนุษย์ในเมืองไทย มากกว่า 30 ปีแล้ว แต่ถ้าคุณเจอฉลาม จงใช้ความระมัดระวังทุกครั้ง อย่าประมาท อาจค่อยๆ ว่ายน้ำหนีห่างออกมา แต่ไม่จำเป็นต้องตกใจ โอกาสฉลามกินคนในเมืองไทย น้อยกว่าโอกาสที่รถจะวิ่งเข้าไปชนคุณถึงเตียงนอนในบ้านเสียอีก
ปลาสาก : รูปร่างที่น่ากลัว ทำให้หลายคนกลัวปลาสาก แต่ความเป็นจริงแล้วเราไม่เคยได้ยินว่าปลาสากจู่โจมมนุษย์ในเมืองไทย แม้แต่ในเมืองนอกก็น้อยเต็มที ปรกติปลาสากจะรวมฝูงเพื่อพักผ่อนในตอนกลางวัน บางครั้งอาจว่ายมาดูเราจนใกล้หรือติดตามเราตลอดดำน้ำ ถือเป้นเรื่องปรกติ ในตอนกลางคืนปลาสากจะล่าเหยื่อ คนที่ไป Night Dive อาจจะเป็นปลาสากพุ่งเข้าใส่ แต่ไม่ต้องกลัว เพียงหลบออกจากบริเวณนั้นหรือดับไฟหลอกล่อ ปลาสากจะหนีไปในที่สุด
ปลาไหลมอเรย์ : แม้รูปร่างจะน่ากลัว แต่ปลากลุ่มนี้ไม่ดุร้าย โอกาสที่เราโดยเขากัด มักเป็นช่วงผสมพันธุ์หรือเขาอยู่ในโพรง เรามองไม่เห็นไปจับข้างโพรง จึงโดนกัด
เม่นทะเล : เม่นดำหนามยาวเป็นสัตว์ที่ทุกคนรู้จักดี หลายคนเคยโดนหนามเม่นทิ่มมาก่อน วิธีการแก้ไขไม่ยาก ใช้ขวดนวดแผลไปมา หนามข้างในจะแตกและหายไปในเวลา 24 ชั่วโมง อย่าบ่งหรือทุบแผลรุนแรง อาจอักเสบให้กินยาแก้ปวดช่วย การป้องกันให้ระวังตัวเสมอ โดยเฉพาะนักดำน้ำแบบ Snorkelling อย่ายืนบนก้อนปะการัง อย่าเข้าไปในบริเวณที่ตื้นมาก โดยเฉพาะในช่วงที่มีคลื่นลม คลื่นอาจซัดเราไปโดนเม่นทะเลได้
สัตว์อื่น : มีสัตว์อีกหลายชนิดที่อาจเป็นอันตราย เช่น บุ้งทะเล ปะการังไฟ ฟองน้ำไฟ กั้งตั๊กแตน ปลาปักเป้า เพรียง หอยนางรม ฯลฯ แต่ทุกอย่างมีทางป้องกันโดยไม่ประมาท และระวังตัวอยู่เสมอ ข้อแนะนำที่ได้ผลดีที่สุดคือ "อย่าจับสัตว์ทะเลทุกชนิด ไม่ว่าคุณจะรู้จัก คิดว่ารู้จัก หรือไม่รู้จัก" เราจะไม่ทำร้ายสัตว์ทะเลและไม่ทำร้ายตัวเราเอ สำหรับแผลที่เกิดขึ้นจากปะการังหรือสัตว์ใต้ทะเลทำร้าย บางครั้งอาจติดเชื้อจากน้ำทะเล ให้ใช้ยาฆ่าเชื้อและรักษาความสะอาดแผลอย่างดี
สัตว์มีพิษ-สัตว์อันตรายในทะเล |
ไม่มีที่ใดในโลกนี้ปลอดภัย แม้แต่ในทะเล ใต้ทะเลมีสิ่งมีชีวิตที่สวยงามดึงดูดให้เราไปเยี่ยมชม ส่วนหนึ่งของสิ่งมีชีวิตนั้นก็ไม่ปลอดภัยสำหรับมนุษย์หากว่าเราไปสัมผัสแตะต้องหรือเข้าใกล้ด้วยเจตนาหรือด้วยความบังเอิญก็ตาม เราเป็นนักท่องเที่ยวจึงควรรู้ไว้ว่าสิ่งใดมีอันตรายเพื่อที่จะได้หลีกเลี่ยงหรือแก้สถานการณ์เมื่อมีปัญหา |
![]() การป้องกัน เวลาเล่นน้ำให้สังเกตรอบๆ ว่ามีแมงกะพรุนอยู่แถวนั้นหรือไม่ ถ้ามีก็ให้หลีกไปเล่นบริเวณอื่น เวลาดำน้ำดูปะการังผิวน้ำให้คอยสังเกตดูด้วยว่ามีแมงกะพรุนลอยมาหาเราหรือไม่ ถ้ามีก็ให้หลบเสีย การดำน้ำลึกควรสังเกตและหลบเลี่ยง อย่างตัวนี้ผมเจอที่หน้าเกาะค้างคาว ว่ายวืบๆ ผ่านไปไม่ไกลเท่าไรจึงถ่ายมาให้ชมกัน การรักษา อย่าเกาเพราะการเกาไม่ใช่การแก้ปัญหา ยิ่งเกายิ่งยับเยิน ใจเย็นๆ ให้ใช้ใบผักบุ้งทะเลที่ขึ้นอยู่บริเวณชายหาดขยำจนของน้ำเขียวๆ ในใบออกมาแล้วทาบริเวณที่โดนแมงกะพรุน ทาทิ้งไว้สักพักอาการก็จะบรรเทาลง หลังจากนั้นก็ลงเล่นน้ำต่อได้ หรือจะใช้น้ำส้มสายชูราดในบริเวณที่โดนแมงกะพรุนก็ได้ |
![]() วิธีการรักษา ให้ใช้ก้อนหินหรือตะกั่วที่ใช้ดำน้ำทุบบริเวณที่โดนตำให้หนามเม่นแตกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย หลังจากนั้นรอเวลา เวลาจะช่วยรักษาให้หายเจ็บได้ โดนตำแล้วต้องทน
|
![]() การป้องกัน ไม่จับเล่นเพราะเห็นว่าสวยงาม ดูแต่ตาจะปลอดภัย การรักษา ใช้น้ำส้มสายชูราดบริเวณที่โดนพิษ
|
![]() การรักษา ไม่รู้รักษายังไง แต่ควรทานยาแก้ปวดเพื่อให้บรรเทาอาการปวด แล้วปล่อยให้เวลาเป็นตัวรักษา การป้องกัน เห็นปลาสวยๆ อย่าเข้าใกล้หรือไปจับเล่น เท่านั้นเอง
|
![]() การรักษา ส่วนใหญ่ไม่แพ้ เมื่อโดนต่อยก็จะรู้สึกเจ็บเฉยๆ แต่สำหรับคนที่แพ้จะมีอาการเป็นจุดแดงและบวมเล็กน้อย แก้ไขด้วยการทานยาแก้แพ้ แต่สำหรับผู้ที่มีอาการแพ้มากจะต้องไปพบแพทย์ฉีดยาสักเข็มก็หาย ที่สำคัญเมื่อโดนแตนต่อยแล้วเกิดตุ่มแดงและคันห้ามเกา ปล่อยไว้อย่างนั้นถึงแม้จะคันก็ทนเอาหน่อย เมื่อทานยาหรือฉีดยาแล้วแผลยุบหายไปก็จะไม่มีแผลเป็น ไม่เสียโฉม การป้องกัน ไม่มีวิธีป้องกัน หากลงน้ำแล้วก็ต่อยถ้าทนได้ก็ดำต่อไป ถ้าทนไม่ไหวก็ขึ้นมารอบนเรือ ที่เขียนมาก็เพื่อจะบอกให้รู้ว่าเวลาลงดำน้ำแล้วรู้สึกเจ็บจี๊ดๆ นั่นน่ะกำลังโดนแตนทะเลต่อย เดี๋ยวจะสงสัยว่าเป็นอะไรทำไมถึงเจ็บ |
![]() |
![]() |
![]() 1. พิษจากเมือกของปะการัง ปะการังหลายชนิดมีเมือกที่เป็นพิษ เมื่อสัมผัสแล้วจะมีอาการปวดแสบปวดร้อนไปหลายวัน บางชนิดมีพิษที่รุนแรงเช่นปะการังไฟ เมื่อโดนแล้วปวดแสบปวดร้อนและเป็นรอยไหม้เป็นแผลเป็น ดังนั้นเมื่อดำน้ำในเขตน้ำตื้นจงหลีกเลี่ยงที่จะไปสัมผัสกับปะการังต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปะการังชนิดใดๆ ก็ตาม เพราะหลายชนิดที่มีพิษ ยากที่จะจดจำ จำง่ายๆ ว่าอย่าไปสัมผัสไม่ว่าชนิดใดก็ตาม 2. พิษจากการบาดเจ็บจากการขีดข่วนหรือโดนคลื่นซัดเข้าไปกระแทกเข้ากับปะการัง ในช่วงที่น้ำลงจะทำให้แนวปะการังอยู่ในระดับน้ำตื้นมากๆ บางจุดปะการังโผล่พ้นน้ำในช่วงที่น้ำลงต่ำสุด อาจทำให้การดำน้ำในเขตปะการังน้ำตื้นเกิดอันตรายเมื่อเราเซไปกระแทกกับปะการัง หรือโดนคลื่นชัดเข้าไปกระแทกกับปะการัง ผิวของปะการังมักจะมีผิวหยาบขุรขระและแหลมคม หากไปกระแทกเข้าก็จะเกิดแผลในบริการที่กระแทก นักท่องเที่ยวก็เสียโฉม แนวปะการังก็อาจจะหักเสียหาย สรุปว่าเสียกันทั้งสองฝ่าย แต่ปะการังมันไม่เจ็บแต่คนซิเจ็บ ถ้ากลัวเจ็บก็ต้องระมัดระวังโดยการไม่ดำเข้าไปในเขตน้ำตื้นจนเกินไป |
![]() |
![]() |
![]() 1. งูทะเลที่อยู่ตามแนวปะการัง มักมีลายปล้องขาว-ดำ งูเหล่านี้ไม่น่ากลัวเพราะงูพวกนี้จะกลัวคน เพียงแค่ได้เห็นคนก็ว่ายน้ำหนีไปแล้ว ดังนั้นจึงไม่ต้องกลัว แต่ถ้ามันกัดก็ไม่ต้องกลัวเพราะเป็นงูที่ไม่มีพิษ หากโดนกัดก็เพียงแค่ฉีดยากันบาดทะยัก เท่านั้นเอง งูทะเลที่มีพิษก็มีแต่จะอยู่ในเขตน้ำลึกซึ่งนักท่องเที่ยวไม่มีโอกาสจะเจอ ดังนั้นจึงสบายใจได้ สรุปว่างูทะเลในแนวปะการัง ไม่มีพิษภัยเพียงแค่ทำให้ตกใจกลัวเท่านั้นเอง 2. งูที่อยู่บนหัวคน งูประเภทมีมากกว่างูที่อยู่ตามแนวปะการัง เป็นงูที่ไม่มีพิษภัย เพียงแต่ทำให้เกิดความรำคาญเท่านั้นเอง แก้ไขง่ายๆ ด้วยการวางเฉย เดี๋ยวงูมันก็ไปเอง
|